You are currently viewing เคล็ดลับความสด เก็บผักผลไม้อย่างไรให้อยู่ได้นาน

เคล็ดลับความสด เก็บผักผลไม้อย่างไรให้อยู่ได้นาน

หลังจากการช้อปปิ้ง ไม่ควรโยนผักและผลไม้ทั้งหมดเข้าตู้เย็น เนื่องจากผักและผลไม้ต่างชนิดกันมีวิธีการเก็บรักษาที่ต่างกัน ตัวอย่าเช่น ผลไม้เมืองร้อนอย่างกล้วยไม่ชอบอากาศเย็น อุณหภูมิที่เย็นจากการเก็บในตู้เย็นอาจทำให้กล้วยเสียได้เร็วขึ้น และเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลภายใน 2 – 3 วัน

อุณหภูมิที่แตกต่างกันในตู้เย็น มีผลเล็กน้อยในการเก็บรักษาความสด ดังนั้นจุดที่เหมาะสมในการเก็บผัก ผลไม้จึงต่างกัน อันดับแรกเราควรสำรวจก่อนว่าผัก ผลไม้ชนิดนั้นควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง

การทำความสะอาดผักผลไม้

ควรแยกการเก็บผักผลไม้ออกจากเนื้อดิบ สัตว์ปีก และอาหารทะเล ให้ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำปะปาก่อนการนำไปปรุงอาหารหรือรับประทาน

ผักผลไม้ไม่ควรนำไปล้างน้ำก่อนที่จะจัดเก็บ เนื่องจากการล้างน้ำจะไปชะล้างสารกันบูดที่มาจากธรรมชาติ ส่งผลให้ผักผลไม้เกิดการเน่าเสียได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถุงยูสซี่ ช่วยถนอมผักผลไม้ให้คงความสดได้อย่างยาวนานอย่างมหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องหรือในตู้เย็น

ผักผลไม้เหมาะสำหรับเก็บที่อุณหภูมิห้อง (ต่ำกว่า 30 องศา)

ผัก: มะเขือเทศเขียว, ฟักทอง, มันเทศ, เผือก, ขิง
ผลไม้: กล้วย, มะละกอ, เสาวรส, ส้มโอ, น้อยหน่า

ผักผลไม้เหมาะสำหรับเก็บในตู้เย็น

ผักผลไม้ที่ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 0 – 5 องศาเซลเซียส ได้แก่
ผัก: กะหล่ำปลี, ผักกาขาว, ผักกาด, ผักโขม, ตั้งโอ๋
ผลไม้: ฝรั่ง, แอปเปิ้ล, ลูกแพร์, สตรอว์เบอร์รี, องุ่น, กีวี

ผักผลไม้ที่ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 5 – 10 องศาเซลเซียส ได้แก่
ผัก: มะเขือเทศแดง, พริกหยวก, มะเขือม่วง, แตงกวา, มะระ
ผลไม้: แตงโม, สับปะรด, มะเฟือง, มะนาว, ส้ม

แหล่งอ้างอิง extension