กินเจกับกินมังสวิรัติต่างกันอย่างไร

กินเจกับกินมังสวิรัติต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจสับสนระหว่างการกินเจกับการกินมังสวิรัตินั้นต่างกันอย่างไร 

เทศกาลกินเจ 🥙 ถือเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาวจีน โดยจะเริ่มขึ้นเมื่อถึงวัน 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีนของทุกปี) ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือน ตุลาคม (ตามปฏิทินสากล)

🇨🇳 โดย คำว่า เจ (斋) ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายว่า อุโบสถ (佛殿) เดิมหมายความว่า การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ตามแบบอย่างของชาวพุทธที่รักษาอุโบสถศีล หรือ ศีล 8 ซึ่งรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์

ในปัจจุบัน ผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ โดยไม่กินเนื้อสัตว์ ก็ยังคงเรียกว่า “กินเจ” ดังนั้นความหมายของการกินเจ ไม่เพียงแต่ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ซึ่งจะมีปีละครั้ง ต่างจากการกินมังสวิรัติ ที่เป็นการทานเพื่อสุขภาพ และเพื่อลดการฆ่าสัตว์ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า “เจี๊ยะฉ่าย (芹菜)” หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน) กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว 🍼

หมายเหตุ

ผลิตภัณฑณ์จากนมได้แก่ นม เนย ชีส โยเกิร์ต

ผักกลิ่นฉุน 5 ชนิดได้แก่ กระเทียม, พืชตระกูลหอม, กระเทียมโทนจีน, กุยช่าย และใบยาสูบ

การกินเจยังงดเนื้อสัตว์ น้ำมันที่มาจากสัตว์ และอาหารรสจัด (รสเค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก และเผ็ดมาก)

สิ่งสำคัญในการกินเจ คือการถือศีลทั้งกายและวาจา รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ ควยคุมอารมณ์ให้คงที่ สำหรับผู้ที่กินเจอย่างเคร่งครัด ห้ามใช้จานชามช้อนปะปนกับผู้ที่ไม่ได้กินเจ และต้องกินอาหารที่คนกินเจด้วยกันเป็นผู้ปรุงขึ้นมาเท่านั้น

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Xinhuanet, ราชบัณฑิตยสถาน